วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ประวัติของเบนนิโต มุสโสลินี

ประวัติและการขึ้นสู่อำนาจของมุสโสลินี

เบนนิโต  มุสโสลินี ( Benito  Mussolini ) เกิดเมื่อ  ค.. 1833 ณ ตำบลโรมาญญา ( Romagna ) ในอิตาลีตอนกลาง  บิดาของเขาเป็นนักสังคมนิยมหัวรุนแรงมีอาชีพเป็นช่างถลุงเหล็ก  มาดาเป็นครูใหญ่  ตัวมุสโสลินีหัวสังคมนิยมมาตั้งแต่เด็ก ๆ เมื่ออายุได้ 18 ปี มุสโสลินีเดินทางไปสวิตเซอร์แลนด์เพื่อหนีการถูกเกณฑ์ทหาร   ได้เข้ายุยงกรรมกรอิตาเลียนที่อาศัยในสวิตเซอร์แลนด์ก่อความวุ่นวายในช่วง  ค.. 1902 – 1904 และในออสเตรีย ค.. 1909 ทำให้ถูกตำรวจขับไล่ออกนอกประเทศ  หลังจากนั้นมุสโสลินีจึงกลับอิตาลีถูกขังคุก  เนื่องจากคัดค้านสงครามระหว่างอิตาลีกับตุรกี  เรื่องดินแดนทริโปลีใน  ค.. 1911 .. 1912  มุสโสลินีเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์แนวสังคมนิยมที่มีชื่อเสียงของอิตาลี ชื่ออวันตี
 (
The Aventi )

                เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดขึ้นใหม่ ๆ มุสโสลีนีคัดค้านการที่อิตาลีจะเข้าร่วมสงคราม  เพราะเขาต้องการให้อิตาลีวางตัวเป็นกลาง  เมื่อพรรคสังคมนิยมไม่เห็นด้วยกับเขา  เขาจึงลาออกจากการเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์อวันตี หลังจากนี้เดือนพฤศจิกายน ค.. 1914 เขาตั้งหนังสือพิมพ์เอง ชื่อ The People of Milan ( ll Popolo d’ Italia ) ในมิลาน ตอนนี้เองที่ความคิดของเขาเริ่มเปลี่ยนจากนโยบายยึดความเป็นกลาง  เป็นการสนับสนุนให้อิตลีเข้าร่วมสงครามเข้าข้างฝ่านสัมพันธมิตร  เพราะเข้าเห็นว่าเป็นทางเดียวที่อิตาลีจะได้ดินแดนต่าง ๆ ตามที่ต้องการ ทำให้เขาถูกพรรคสังคมนิยมขับไล่ออกจากพรรค
                ค.. 1915 เมื่ออิตาลีเข้าร่วมสงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับสัมพันธมิตรมุสโสลินีอาสาสมัครไปรบจนได้รับบาดเจ็บอย่างหนักใน ค.. 1917 ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลอยู่หลายเดือน  เมื่อออกจากโรงพยาบาลเขาก็เข้าเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์อีก  เริ่มเผยแพร่แนวความคิดแบบปฏิวัติและชาตินิยมอย่างแรงกล้า
                เมื่อสงครามสงบท่ามกลางภาวะบ้านเมืองที่ประสบปัญหาหลายด้าน ค.. 1919 มุสโสลินีได้ก่อตั้งพรรค Fasci di combattimento ต่อมาชื่อว่าพรรคฟาสซิสต์ ( Fascism ) เป็นคณะเชิ้ตดำมีรูปมัดหวายกับขวานเป็นเครื่องหมายประจำคณะ  แสดงถึงความสามัคคีและความเข็มแข็ง ดังนั้นความหมายของฟาสซิสต์  คือ สามัคคีคือพลัง  ตัวมุสโสลินีเป็นหัวหน้ามีวัตถุประสงค์ต้องการสถาปนาความรุ่งเรืองของประเทศ  และช่วยประเทศชาติให้รอดพ้นจากภัยของลัทธิคอมมิวนิสต์
         หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศต้องเผชิญกับปัญหาด้านการเมือง  เศรษฐกิจและสังคมที่รุนแรง  การเมืองแตกแยก  ทางด้านเศรษฐกิจต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ  คนว่างงานสูงเนื่องจากเจ้าของกิจการไม่มีเงินทุนหมุนเวียน  การเกษตรกรรมไม่ได้ผล  เกิดโจรผู้ร้ายชุกชุมชีวิตของประชาชนขาดความมั่งคง  ระยะเวลาระหว่าง ค.. 1919 – 1922 ต้องเปลี่ยนรัฐบาลถึง 5 ชุด ก่อนที่มุสโสลินีจะเข้ามาบริหาร  รัฐบาลซึ่งมีนายลุยจิ  แฟกตา ( Luigi Facta ) เป็นนายกรัฐมนตรีไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ได้ กลุ่มการเมืองต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพวกสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์  ต่อต้านรัฐบาลก่อความไม่สงบขึ้นโดยใช้วิธีการที่รุนแรง  สภาวะเช่นนี้ทำให้ประชาชนรู้สึกเบื่อหน่ายต่อสภาพวุ่นวายของบ้านเมือง  ประชาชนเห็นความจำเป็นต้องมีรัฐบาลที่เข้มแข็งมาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ  และพร้อมจะให้ความสนับสนุนพรรคการเมืองที่สามารถมาบริหารประเทศ  ในช่วงจังหวะนี้เองที่พรรคฟาสซิสต์มีนโยบายต่อต้านสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์รวมไปถึงขบวนการฝ่ายซ้ายทั้งหมด  แต่พยายามเป็นไมตรีกับกษัตริย์และสถาบันศาสนา  พรรคใหม่นี้จึงเป็นทางเลือกที่เป็นความหวังให้กับประชาชนเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้พรรคฟาสซิสต์  ของมุสโสลินีได้รับความนิยมจากประชาชน  ทำให้มุสโสลินีเตรียมนำทัพเข้ากรุงโรม  เพื่อยึดอำนาจการปกครอง  นายกรัฐมนตรีลุยจิแฟคตา  ได้เสนอให้พระเจ้าวิคเตอร์เอมมานูเอลที่ 3 ประกาศใช้กฎอัยการศึก  แต่พระองค์ปฏิเสธที่จะลงพระปรมาภิไธย  วันที่ 29 ตุลาคม ค.. 1922 พระเจ้าวิคเตอร์เอมมานูเอลที่ ได้ทรงโทรเลขเรียกมุสโสลินีจากมิลานให้เดินทางสู่กรุงโรมเพื่อจัดตั้งรัฐบาล  มุสโสลินีเดินทางมาถึงในวันรุ่งขั้นคือวันที่ 30 ตุลาคม จัดตั้งรัฐบาลผสม  คณะรัฐมนตรีมีรัฐมนตรีทั้งหมด 14 คน  เป็นรัฐมนตรีสังกัดพรรคฟาสซิสต์เพียง 4 คน  มุสโสลินีได้เป็นนายกรัฐมนตรี  รัฐสภาออกเสียงให้รัฐบาลใหม่มีอำนาจเต็ม 1 ปี เพื่อรักษาความสงบ
เผด็จการฟาสซิสต์ ( The  Fascist Dictatorship )
                เนื่องจากมุสโสลินีไม่เห็นด้วยกับการปกครองแบบประชาธิปไตย  เขาเห็นว่าระบบนี้มีแต่การโต้เถียง  ซึ่งนำไปสู่ความแตกแยก  เป็นการสิ้นเปลืองทั้งเวลาและทรัพย์สินผลสุดท้ายไม่สามารถแก้ไขปัญหาของประเทศได้   เมื่อได้อำนาจมุสโสลินีได้นำความคิดแบบเผด็จการมาใช้เริ่มจากการใช้โอกาสที่ได้อำนาจเต็ม  ปี   เพื่อจัดการบ้านเมืองให้กลับสู่ความเรียบร้อยนี้ค่อย ๆ สถาปนาอำนาจการปกครองในรูปแบบเผด็จการโดยดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป  โดยใช้อำนาจแต่งตั้งคนของตนเข้าไปนั่งในสภา  เพื่อเป็นเสียงสนับสนุนกับมุสโสลินีซึ่งเป็นวิธีการที่มุสโสลินีจะควบคุมสภาได้  มุสโสลินีจะเป็นผู้เรียกประชุมเอง  กำหนดระเบียนวาระการประชุม  ยิ่งกว่านั้นมุสโสลินีเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกสภาสูงมีผลให้รัฐสภาให้อำนาจแก่มุสโสลินีในการออกกฎหมาย  แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีและปลดออก มุสโสลินียังรับผิดชอบต่อกษัตริย์พระองค์เดียว  ยังคุมอำนาจทางศาลด้วย  ทำให้เขาสามารถเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งใหม่  เพื่อปูทางให้พรรคฟาสซิตส์ได้เสียงส่วนมากในสภาผู้แทน  ขั้นต่อมาคือทำลายพรรคการเมืองอื่น ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ อาทิ  การลักพาตัวหรือฆาตกรรม  เช่น   ( Giacomo Matteotti ) ออกหนังสือชื่อ The Fascist Expored  โจมตีรัฐบาล
                 การคอร์ปชั่นของคณะรัฐมนตรี  วันที่
10 มิถุนายน  ค.. 1942  นายมัตเตโอติ ถูกลักตัวไปฆ่าและมีผู้พบศพของเขาในเวลาต่อมา  ในป่าแห่งหนึ่ง หลังจากนั้นมุสโสลินีถือโอกาสเข้ามาเป็นผู้รักษากฎหมาย  และความสงบเรียนร้อยของประเทศด้วยตนเอง  ปรากฏว่าการหาตัวคนร้ายล้าช้ามากจนกระทั่งเดือน  มีนาคม ค.. 1926  ไม่อาจจับตัวคนร้ายได้
                พวกตัวแทนฝ่ายค้านไม่พอใจ ถอนตัวออกจากสภาและประกาศว่าจะไม่กลับมาจนกว่ารัฐบาลจะหาตัวฆาตกรนายมัตเตโอดิได้  และรัฐสภาต้องแสดงให้ประชาชนเห็นว่าเป็นผู้บริสุทธิ์  มุสโสลินีกลับดำเนินนโยบายเข้าควบคุมหนังสือพิมพ์อย่างเข้มงวด  ห้ามการชุมชุม  และใน ค.. 1926  เขาประกาศให้ที่นั่งของตัวแทนฝ่ายค้านที่ไม่กลับมาเป็นโมฆะ  มุสโสลินีดำเนินการแข็งกร้าว  รัฐบาลตั้งกองตำรวจลับ OVRA ทั้งในและนอกเครื่องแบบคอยจับกุมผู้ที่มีความเห็นขัดแย้งกับอุดมการณ์ของผู้นำปราบปรามผู้ที่คัดค้านรัฐบาล  ผู้ที่ต่อต้านหรือคัดค้านรัฐบาลจะถูกจับและเนรเทศ  ในปีเดียวกันออกกฎหมายยกเลิกพรรคการเมืองต่าง ๆ  ทั้งหมดรวมไปถึงสมาคมลับต่าง ๆ ถูกยกเลิกหมด  มีการตั้งศาลพิเศษขั้นพิจารณาลงโทษทางการเมือง  ทำให้เหลือพรรคฟาสซิสต์เพียงพรรคเดียวที่ถูกต้องตามกฎหมาย  ดังนั้นระบบการเลือกตั้งของอิตาลีจึงเปลี่ยนไปเนื่องจากมีเพียงพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว   ผู้ออกเสียงจึงลงคะแนนเพียง รับ หรือ ไม่รับ  เท่านั้น  รัฐบาลมุสโสลินีนั้น  คณะทหารมีอำนาจสูงสุด  ตัวมุสโสลินีจะดำรงตำแหน่งผู้นำของพรรค ( Duce ) และตำแหน่งผู้นำของรัฐ (Chief Of state) มีการจัดตั้งกองทัพ ( Militia ) ประกอบด้วยทหาร 200,000 คน ที่จงรักภัคดีต่อมุสโสลินีโดยตรง

ลักษณะของลัทธิฟาสซิสต์

1.เป็นการปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ( Totalitarianism ) รัฐมีอำนาจสูงสุดรัฐเท่านั้นที่เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง   ควบคุมทุกชีวิตเพื่อก่อตั้งรัฐเบ็ดเสร็จ  รัฐมีหน้าที่วินิจฉัยว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก  คำว่า “ถูก” ดูที่ผลประโยชน์ต่อรัฐเป็นสิ่งสำคัญ  การจะเป็นรัฐเบ็ดเสร็จได้ต้องให้อำนาจอย่างสูงสุดกับผู้นำ  ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามและเชื่อฟังผู้นำทุกอย่างโดยไม่มีข้อโต้แย้งประชาชนจะผูกพันกับผู้นำอย่างแน่นแฟ้น 
เพื่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังคำขวัญ “ จงเชื่อ  จงปฏิบัติตาม  จงต่อสู้ ”
               
2.มีลักษณะชาตินิยมจัด (Ultra-nationalism) โดยยกย่องความยิ่งใหญ่ของประเทศสนับสนุนกการแสวงหาจักรวรรดินิยมในการสร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่  เน้นถึงอำนาจทหารนิยมเป็นเครื่องแสดงออกถึงพละกำลัง  โดยอำนาจทหารที่เข้มแข็งจะเป็นฐานในการทำสงครามเพื่อบรรจุถึงจุดหมายสำคัญคือการได้ปกครองโลก  เท่ากับเป็นการตอกย้ำกฎเหล็กแห่งธรรมชาติว่าผู้เข้มแข็งอยู่เหนือผู้อ่อนแอ  ชาติที่เข็มแข็งจะได้ครองโลก
3.ต่อต้านประชาธิปไตยฟาสซิสต์  ถือว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยที่เน้นในเสรีภาพส่วนบุคคล  และระบบที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคเป็นการปกครองที่อ่อนแอไร้ประสิทธิภาพไม่สามารถทำให้ประเทศยิ่งใหญ่ได้  ในความเป็นจริงแล้วในทัศนะของฟาสซิสต์บุคคลควรจะต้องเสียสละเสรีภาพส่วนบุคคลเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ  นอกจากต่อต้านประชาธิปไตยฟาแล้วฟาสซิสต์ยังต่อต้านสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์   เพราะเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมก็คือเป้าหมายของพวกคอมมิวนิสต์นั้นเอง  ฟาสซิสต์ประณามหลักการของมาร์กซ์ที่ต่อต้านชาตินิยม 

ด้านการศึกษา
                แก้ปัญหาคนไม่รู้หนังสือให้เหลือน้อยที่สุด  ออกกฎหมายบังคับให้เด็กเข้าโรงเรียนเปิดโรงเรียนมากขึ้นรองรับการศึกษาภาคบังคับ  อบรมครู  รัฐบาลได้สอดแทรกการโฆษณาชวนเชื่อในลัทธิฟาสซิสต์เข้าไปในหนังสือเรียนทุกระดับ  จนถึงระดับมหาวิทยาลัย  ครูอาจารย์ต้องสอนให้เด็กเลื่อมใสในลัทธิฟาสซิสต์และชาตินิยม  โดยเน้นย้ำให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของชาติอิตาลีตั้งแต่ในยุคโบราณ  ปลุกใจให้คนรักชาติเพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ในอนาคต

ด้านการทหาร
                รัฐบาลเพิ่มกำลังกองทัพบกเรือและอากาศ  เพิ่มอาวุธยุทโธปกรณ์เป็นการเตรียมพร้อมที่จะทำสงคราม  และจัดให้มีการแสดงพลังของทหารและฝึกการใช้อาวุธทันสมัยอยู่เสมอเพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ของกองทัพ  สร้างความมั่นใจให้กับทหารเพื่อเป็นรากฐานในการที่จะดำเนินนโยบายขยายอาณานิคมต่อไป

นโยบายต่างประเทศ
                มุสโสลินีมีนโยบายแผ่อิทธิพลในท้องทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  เพื่อแสดงให้ชาวโลกเห็นว่าตัวเข้าเป็นทายาทของซีซาร์ ต้องการให้อิตาลีเป็นเจ้าแห่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  แสวงหาอาณานิคมในแอฟริกา 
ขยายอำนาจไปสู่บริเวณทะเลอาเดรียติก

การรุกทางทหาร
                ในไม่ช่า  มุสโสลินีได้เปลี่ยนโยบายต่างประเทศจากการต่อต้านจักรวรรดินิยมแบบสันตินิยม  ที่นำเขาขึ้นมาสู่ตำแหน่งอำนาจ  มาสู่รูปการของชาตินิยมที่ก้าวร้าวสุดขั้ว ตัวอย่างเบื่องต้นของนโยบายใหม่นี้ก็คือการระดมยิงกอร์ฟู (Corfu: เกาะของกรีซแห่งหนึ่ง ในทะเลไอโอเนียน)  ในปี ค.ศ. 1923 ไม่นานหลังจากนั้น  เขาก็ประสบความสำเร็จในการสร้างระบบการปกครองหุ่นเชิดในแอลเบเนีย  และสร้างเสริมอำนาจของอิตาลีให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นอย่างไร้ความปรานีในลีเบียซึ่งเป็นอาณานิคมแบบหลวม ๆ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912  ความฝันของเขาก็คือการให้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นมาเร  นอสตรุม-(ทะเลของเรา)”  และสร้างฐานทัพเรือขนาดใหญ่บนเกาะเลรอสของกรีซ  เพื่อสร้างกำลังในการยึดทางยุทธวิธีเหนือทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก  ปี ค.ศ. 1935 ในที่ประชุมสเตรสา  เขาช่วยสร้างแนวต่อต้านฮิทเลอร์เพื่อปกป้องอิสรภาพของออสเตรีย  แต่สงครามที่ประสบชัยชนะของเขาเหนือแอเบอลิเนีย(เอธิโอเปีย) ในปีค.ศ. 1935 -1936 ถูกสันนิบาตชาติคัดค้าน และจากการณ์นี้ทำให้ฮิทเลอร์หันมาสร้างพันธมิตรกับอิตาลีฟาสซิสต์
                การรุกรานเอธิโอเปียบรรลุผลอย่างรวดเร็ว (การประกาศสถาปนาจักรวรรดิมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1936 ) และพัวพันกับทารุณกรรมหลายครั้งหลายครา  อาทิ การใช้อาวุธเคมี-มัสเทิร์ด  แก๊สหรือแก๊สพิษร้ายแรงและฟาสจีน  และการสังหารประชาชนท้องถิ่นจำนวนมากอย่างไม่จำแนกแยกแยะเพียงเพื่อป้องกันการต่อต้าน
                กองทัพจัดวางคลังสรรพาวุธอันประกอบด้วยลูกระเบิดมือและลูกระเบิดที่บรรจุมัสเทิร์ด  แก๊สซึ่งถูกทิ้งลงจากเครื่องบิน  สารนี้ยังถูกฉีดโดยตรงจากข้างบนเช่นเดียวกับ “ยาฆ่าแมลง” ใส่นักรบและหมู่บ้านของศัตรู  มุสโสลินีเองที่มีอำนาจเด็ดขาดในการสั่งให้ใช้อาวุธเช่นนี้  มุสโสลินีกับแม่ทัพนายกกองต่างพยายามปกปิดยุทธการ  การสงครามเคมีเป็นความลับสุดยอด  แต่อาชญากรรมของกองทัพฟาสซิสต์ถูกเปิดเผยต่อชาวโลกจาการกล่าวโทษของกาชาดสากล และผู้สังเกตการณ์ชาวต่างประเทศจำนวนมาก  ปฏิกิริยาของอิตาลีต่อการเปิดเผยเหล่านี้สำแดงออกมาในรูปการของการระดมยิง “ผิดพลาด ” เข้าใส่เต็นท์ของกาชาดซึ่งตั้งในพื้นที่ค่ายทหารฝ่ายต่อต้านของเอธิโอเปีย  คำสั่งของมุสโสลินีในเรื่องประชากรเอธิโอเปียนั้นปรากฏชัดเจนอย่างยิ่ง : “โรม, 5มิถุนายน 1936 A.S.E. กราซีอานี.  กบฏทุกคนที่ถูกจับเป็นเชลยต้องถูกฆ่า ” “โรม 8กรกฎาคม 1936 A.S.E. กราซีอานี ข้าพเจ้าให้อำนาจอีกครั้งแก่ วี.อี. ในการเริ่มและดำเนินการเมืองอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการคุกคามและการจำกัดกบฏและประชากรผู้สมรู้ร่วมคิด  หากปราศจากการเคลื่อนที่เร็ว  ก็ไม่อาจรักษาการติดเชื้อได้ทันเวลา  รอการยืนยัน มุสโสลินี ” ส่วนที่เด่นชัดของการกดขี่ที่อิตาลีดำเนินการ  นอกเหนือจากการใช้ระเบิดที่บรรจุมัสเทิร์ด  แก๊สหรือแก๊สพิษร้ายแรงแล้ว  ยังมีการตั้งค่ายแรงงานบังคับกับตั้งกะแลงแกงหรือที่แขวนคอประหารสาธารณะ  ฆ่าตัวประกัน และหั่นศพศัทรู กราซีอานีสั่งให้กำจัดนักรบจรยุทธที่ถูกจับ  โดยการโยนลงจากเครื่องบินขณะที่บินอยู่กลางอากาศ  ทหารอิตาเลียนหลายคนได้ถ่ายภาพตนเองคู่กับซากศพที่แขวนจากตะแลงแกงหรือแขวนอยู่รอบหีบที่เต็มไปด้วยศีรษะที่ถูกตัด  เหตุการณ์หนึ่งในการยึดครองเอธิโอเปียของอิตาลีก็คือการสังหารหมู่แอสดิส  อาบาบา ( เมืองหลวงเอธิโอเปีย ) เดือนกุมภาพันธ์ 1937  ซึ่งเกิดขึ้นหลังความพยายามลอบสังหารกราซีอานี  ในระหว่างพิธีอย่างเป็นทางการมีระเบิดลูกหนึ่งระเบิดขึ้นติดกับนายพลคนนี้  การโต้ตอบอุบัติขึ้นโดยฉับพลันและอย่างโหดร้ายทารุณ  ชาวเอธิโอเปียที่อยู่ในงานจำนวนสามสิบคนหรือกว่านั้นถูกแทงทะลุด้วยดาบปลายปืนโดยทันที  หลังจากพลพรรคเชิ๊ตดำแห่งกองกำลังอาสาสมัครฟาสซิสต์ทะลักออกมาเต็มท้องถนนของเมืองแอดดิส   อาบาบา  ที่ที่พวกเขาทรมานและเข่นฆ่าเรียบทั้งผู้ชาย  ผู้หญิง  กระทั่งเด็กซึ่งพวกเขาพบเห็นในเส้นทางผ่าน  นอกจากนั้นยังระดมยิงอาคารบ้านเรือนเพื่อป้องกันมิให้ผู้อยู่อาศัยหลบหนีแล้วกวาดต้อนมารวมกันเพื่อสังหารหมู่กลุ่มละ 50- 100 คน

อักษะแห่งเลือดกับเหล็กกล้า
                คำว่า “มหาอำนาจอักษะ” (Axis Power)  นั้นบัญญัติโดยมุสโสลินี  เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1936 เมื่อขากล่าวถึงอักษะโรม-เบอร์ลิน เพื่อกล่าวอ้างถึงสนธิสัญญามิตรภาพที่ลงนามระหว่างอิตาลีกับเยอรมนี 
เมื่อ 25 ตุลาคม  1936 “อักษะ” ของเขากับเยอรมนีได้รับการตอกย้ำยืนยัน  เมื่อเขาทำสนธิสัญญาอีกฉบับหนึ่งกับเยอรมนีนาซีในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1939  มุสโสลินีได้สาธยายสัมพันธภาพกับเยอรมนีฉบับนี้ว่าเป็น “กติกาสัญญาเหล็ก” (
Pact of Steel)  เช่นกับที่เขากล่าวอ้างสัญญาฉบับก่อนว่าเป็น “กติกาสัญญาเลือด” (Pact of Blood)
               


                เป็นที่ชัดแจ้งว่าผู้เป็นหุ้นส่วนหรือคู่กติสัญญาชั้นรองอย่างมุสโสลินีย่อมเดินตามนาซี  ทั้งยังต้องยอมรับนโยบายทางเชื้อชาติ  ซึ่งนำไปสู่การเบียดบีฑาชาวยิวหรือจูว์  และการสร้างการแยกผิวในจักรวรรดิอิตาลี  ก่อนหน้านี้  ชาวยิวไม่ถูกรัฐบาลมุสโสลินีเบียดบีฑาเป็นการเฉพาะทั้งยังได้รับตำแหน่งสมาชิกระดับสูงของพรรคฟาสซิสต์อีกด้วย  ทั้งที่มีการเบียดบีฑาก็ตาม  ทว่ารัฐบาลของมุสโสลินีเองก็ยังปกป้องชาวยิวอย่างแข็งขันควบคู่ไปด้วย  สมาชิกกลุ่มต่อต้านฟาสซิสต์ของชาวสโลวีเนียน  วางแผนสังหารมุสโสลินีที่เมืองโคบาริดในปี 1938  แต่ไม่ประสบความสำเร็จ  ห้วงนี้มีคำพูดที่อุโฆษของมุสโสลินีที่ถูกนำมาอ้างอยู่ชุดหนึ่ง ก็คือ “หากข้าพเจ้าบุก  จงตามข้าพเจ้าไป :หากข้าพเจ้าถอยจงฆ่าข้าพเจ้าเสีย ; หากข้าพเจ้าถอย  จงฆ่าข้าพเจ้าเสีย ; หากข้าพเจ้าตายจงแก้แค้นให้ข้าพเจ้าด้วย ”
                จริงๆแล้ว มุสโสลินีเองก็มิได้เห็นดีเห็นงามไปตามนโยบายของฮิตเลอร์ไปเสียทั้งหมด  และใน
เดือนเมษายน ค.ศ. 1938 มุสโสลีนีได้เสนอแนะเป็นการส่วนตัวว่า  วาติกนควรพิจารณาตัดอาดอล์ฟ  ฮิทเลอร์ให้
ขาดจากศาสนาโดยเร่งด่วน  จนกระทั่งทุกวันนี้  ก็ยังมิปรากฏชัดว่าคริสตจักรโรมันแคเธอลิคได้มีการพิจารณาตัดขาดจากศาสนาในกรณีของอิทเลอร์นั้น  เป็นการตัดสินที่มีเหตุผลเพียงใดหรือไม่

สงครามโลกครั้งที่ 2
                ขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II : การสู้รบที่เกิดจากความขัดแย้งทั่งโลกระหว่างมหาอำนาจพันธมิตรกับมหาอำนาจอักษะ  ตั้งแต่ปี 1939 จนถึงปี1945 สงครามครั้งนั้นยุติลงโดยชัยชนะเป็นของฝ่ายพันธมิตร)  ใกล้อุบัติ  มุสโสลินีประกาศเจตนาอันชัดแจ้งของเขาในการผนวกดินแดนของมอลตา, กอร์สีกา  และตูนิส  ขณะเดียวกันเขาก็พูดถึงการสร้าง “จักรวรรดิโรมันใหม่” หรือ “จักรวรรดิอิตาลี”  ที่จะแผ่อาณาเขตด้านตะวันออกไปถึงปาเลสไตน์และด้านใต้ไปทั่วลิเบีย  อียิปต์  และเคนยา  เมื่อเดือนเมษายน  1939  หลังสงครามอุบัติขั้นไม่นาน  เขาผนวกเอาดินแดนแอลเบเนียมาเป็นของอิตาลี  มุสโสลินีประกาศถึงการคงสถานะไม่เป็นประเทศคู่สงครามกับประเทศใดในความขัดแย้งที่ใหญ่หลวงขึ้นทุกขณะ  อยู่จนกรทั่งเขาแน่ใจว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายชนะ
                10 มิถุนายน ค.ศ. 1940  มุสโสลินีประกาศสงครามกบอังกฤษและฝรั่งเศส  28 ตุลาคม ค.ศ. 1940  มุสโสลินีโจมตีกรีซ  แต่หลังจากประสบชัยชนะในรยะแรกเริ่มได้ไม่นาน  กองทัพอิตาเลียนก็ถูกการตีโต้อย่างไม่ระย่อของทหารกรีก  ถูกบีบให้ถอยร่นจนต้องสูญเสียพี้นที่ครอบครองในแอลเบเนียถึงหนึ่งในสี่  จนกระทั่งฮิทเลอร์ถูกบังคับให้ต้องกระโดดเข้าช่วยเขาโดยการโจมตีกรีซ  เดือนมิถุนายน ค.ศ.1941  มุสโสลินีประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต
                ปี ค.ศ. 1943 หลังความปราชัยของอักษะในแอฟริกาเหนือ  นานาอุปสรรคที่แนวรบด้สนตะวันออกและการยกพลขึ้นบกของอังกฤษอเมริกันที่เกาะสีศีลีหรือซิซิลี  เพื่อนร่วมงานคนสำคัญของมุสโสลินี (รวมทั้งเคาน์ท  กาเลอัซโซ  ชีอาโน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศและบุตรเขยของเขา) หันมาต่อต้านเขาในที่ประชุมสภาใหญ่ฟาสซิสต์  เมื่อ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1943  พระเจ้าวิตตอรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 ทรงมีรับสั่งให้มุสโสลีนีเข้าเฝ้าและปลดอำนาจอนล้นหลามของผู้เผด็จของเขา  หลังจากออกจากพระราชวัง  มุสโสลินีถูกจับกุมโดยทันที 
เขาถูกส่งตัวไปยังกราน  สัสโสที่พักตากอากาศบนภูเขาในภาคกลางของอิตาลี  อันเป็นการโดดเดี่ยวและตัดขาดจากโลกภายนอกโดยสิ้นเชิง
                ตำแหน่งของมุสโสลินีถูกแทนที่โดยจอมพลแห่งอิตาลี  ปีเอโตรบาโดกลีโอ (28 กันยายน 1871 – 1 พฤศจิกายน 1956 ; ทหารและนักการเมืองคนสำคัญ) ผู้ประกาศตนอย่างเฉียบพลันด้วยสุนทรพจน์ที่มีชท่อเสียง “สงครามดำเนินต่อไปโดยเคียงข้างพันธมิตรเยอรมนีของเรา”  แต่ทว่าเป็นการดำเนินการเจรจาเพื่อการยอมจำนนแทน  โดย 45 วันถัดมา (8 กันยายน) บาโดกลีโอได้ลงนามเพื่อการสงบศึกกับกองทัพฝ่ายพันธมิตร  บาโดกลีโอ เอมานูเอลที่ 3 กลัวการแก้แค้นของเยอนรมัน  จึงพากันหลบหนีออกจากกรุงโรม  ปล่อยให้กองทัพอิตาเลียนทั้งหมดตกอยู่ในภาวะไร้ระเบียบ  หลายหน่วยถูกตีแตกกระจัดการจายอย่างง่ายดาย  บางหน่วยก็หนีไปตั้งอยู่ในเขตควบคุมของพันธมิตร  มีอยู่เพียงไม่กี่หน่วยที่ตัดสินใจเริ่มทำสงครามกู้ชาติต่อต้านนาซี  และอีกไม่กี่หน่วยไม่ยอมเปลี่ยนข้าง  และยังคงเป็นพันธมิตรที่เหนียวมั่นกับกองทัพเยอรมัน
                ไม่กี่วันต่อมา   มีการช่วยชีวิตซึ่งวางแผนลักพาตัวโดยพลเอกคูร์ท  ฌทูเดินท์(12 พฤษภาคม 1890 - 1 กรกฎาคม 1978  แม่ทัพแห่งกองทัพอากาศเยอรมนีนาซี  ผู้นำการต่อสู้ทางภาคอากาศที่แนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่ 1 และผู้บัญชาการทหารพลร่มระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ) และปฏิบัติการโดยออทโท  สคอร์เซนี   มุสโสลินีจึงประกาศสถาปนาสาธารณรัฐสังคมแห่งอิตาลี  รัฐบาลฟาสซิสต์ในตอนเหนือของอิตาลี ในห้วงนี้เข้าพำนักที่การ์ญาโน  แต่ก็ตกอยู่ในสภาพของหุ่นเชิดภายใต้การคุ้มครองของบรรดาผู้ปลอดปล่อยชาติของเขาเท่านั้น  ใน “สาธารณรัฐสาเลาะ” นี้ มุสโสลินีหวนกลับไปสู่ความคิดดั่งเดิมของเขาเกี่ยวกับสังคมนิยมและการรวมหมู่ เขายังประหารชีวิตผู้นำฟาสซิสต์ที่ทิ้งเขาไป  รวมทั้งบุตรเขยของเขาเอง

ภริยาลับชาวยิวของมุสโสลินี

                มาร์เกรีตา  สาร์ฟัตตี ( Margher  Sarfatti ) ลูกสาวของทนายความชาวยิวที่มั่งคั่ง  นางถูกยึดมั่นในความคิดสังคมนิยม  และหนีจากบ้านบิดามารดาตั้งแต่อายุ 18 ปี  โดยการแต่งงานกับเชสาเร  สาร์ฟัตตี  ทนายความจากปาดูอา ซึ่งอายุแก่กว่านางมาก ปี 1902 ทั้งคู่ได้ย้ายไปอยู่ที่มิแลนหรือมีลาโน    ปี 1911  สาร์ฟัตตีเริ่มมีความสัมพันธ์แนวชู้สาวกับมุสโสลินี  จากสภานะของปัญญาชนที่มีการศึกษาสูงและมีความคิดอันปฏิวัติอันชัดเจน นางมีความสำคัญอันโดดเด่นต่อความรุ่งเรืองของฟาสซิสต์อิตาลี  โดยเป็นผู้สนับสนุนและเพิ่มความคิดและนโยบายของมุสโสลินีหลายประการ  ปี 1938 สาร์ฟัตตีทิ้งอิตาลีฟาสซิสต์ไปอยู่อาร์เจนตินาและกลับมาอีกครั้งในปี 1947 หลังจากอิตาลีพ่ายสงคราม
                ความจริงแล้วมุสโสลินีและสาร์ฟัตตีต่างก็เป็นคนถือคติเชื้อชาติต่อชาวแอฟริกันและชาวเอเชีย  ดังนั้นคนทั้งสองจึงไม่มีอะไรติดข้องอยู่ภายในฟาสซิสต์ของอิตาลี  โดยเฉพาะการต่อต้านชาวยิว  อย่างไรก็ตาม  เมื่ออิตาลีฟาสซิสต์พิชิตแอเบอสีเนีย(เอธิโอเปีย)  ก็ถูกสันนิบาตชาติ  ตำหนิอย่างรุนแรง  แต่มุสโสลินีได้รับการบรรเทาและการสนับสนุนจากอาดอล์ฟ ฮิทเลอร์และประเทศยุโรปที่ต่อต้านชาวยิว  เพื่อประจบสอพลอต่อฮิทเลอร์  กฎหมายเชื้อชาติทั้งหลายของอิตาลีจึงผ่านอย่างรวดเร็วในปี 1938  สาร์ฟัตตีจึงจำเป็นต้องหย่าร้างห่างเตียงของมุสโสลินีในที่สุด

มตกรรม
บ่ายวันที่ 27 เมษายน ค.. 1945 ใกล้หมู่บ้านดอนโก (ทะเลสาบโกมา) ก่อนที่กองทัพพันธมิตรเคลื่อนทัพถึงมีลาโน  ขณะที่พวกเขามุ่งหน้าสู่กีอาเวนนาเพื่อขึ้นเครื่องบินหนีไปยังสวิตเซอร์แลนด์  มุสโสลีนีกับภริยาลับของเขา กลาเรตตา หรือแคลรา  เปทัชชี  ถูกพลพรรคคอมมิวนิสต์อิตาเลียนจับตัวได้หลังจากความพยายามที่ล้มเหลวหลายครั้งในการนำตัวไปยังโกโม  พวกเขาจึงถูกนำตัวไปยังเมซเซกรา  พวกเขาใช้เวลาคืนสุดท้ายในบ้านของตระกูลเด  มารีอา
                วันต่อมา 28 เมษายน  มุสโสลินีกับภริยาลับของเขาถูกประหารชีวิตพร้อมกับอีกสิบห้าคน  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสาธารณรัฐสังคมอิตาเลียน



                วันถัดมา  สาธารณะต่างพบกับร่างของมุสโสลินีกับภริยาลับถูกแขวนด้วยการมัดเท้า  ให้ศีรษะห้อยลงบนที่แขวนเนื้อสัตว์ที่จัตุรัสโลเรโตในเมืองมิแลนหรือมีลาโน  พร้อมกับพลพรรคฟาสซิสต์คนอื่นๆ โดยเฉพาะรัฐมนตรีคนสำคัญในรัฐบาลของเขา  เพื่อแสดงให้ชาวอาณาประชาราษฎร์เห็นว่าจอมเผด็จผู้นี้เสียชีวิตแล้ว  การณ์นี้ยังเป็นทั้งการปราบมิให้บรรดาพลพรรคฟาสซิสต์ต่อสู้อีกต่อไป  และเป็นปฏิบัติการแก้แค้นต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของฝ่ายอักษะที่แขวนคอพลพรรคกู้ชาติจำนวนมากในสถานที่เดียวกันนี้  

บรรญานุกรม

 เจษฎา  ทองรุ่งโรจน์.  มุสโสลินี บิดาแห่งลัทธิฟัสซิสซ์.  กรุงเทพ : มิติชุมชน,       2549
เพ็ญศรี  ภูมิถาวร.  ประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยปัจจุบัน.  กรุงเทพ  :  มหาวิทยาลัยรามคำแหง,       2551
วีระชัย ดชคมุกดาสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2.  กรุงเทพ  ยิปซี, สนพ,        2555
เบนนิโต มุสโสลินี. (ออนไลน์) แหล่งที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/เบนนิโต_มุสโสลินี.
                  
29 กรกฎาคม 2556.
Benito Mussolini. (ออนไลน์) แหล่งที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Benito_Mussolini.
                   
1 สิงหาคม 2556.


1 ความคิดเห็น:

  1. Casinos with Real Money No Deposit Bonuses 2021
    › casinosites-no-deposit › casinosites-no-deposit Casinos with Real Money No Deposit Bonuses 2021 — Casinosites with Real Money No Deposit Bonuses 강원 랜드 썰 2021 Casino Sites with Real Money No Deposit Bonuses for New Players 2021 — Casinosites with Real Money No Deposit Bonuses for New 포커 카드 Players 2021 — Casinosites with Real Money No Deposit Bonuses for 룰렛 확률 New Players 2021 — Casinos with Real Money No 유흥 싸이트 Deposit Bonuses for New Players 2021 — Casinos with Real Money No Deposit Bonuses for New 승인 전화 없는 토토 꽁 머니 Players

    ตอบลบ