วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

การเขียนอ้างอิงหรือบรรณานุกรม


ความหมายของบรรณานุกรม
               
  บรรณานุกรม  คือ  รายชื่อหนังสือเอกสาร  สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งโสตทัศนวัสดุ  และสื่ออีเล็กทรอนิกส์ ที่นำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงในการเขียนรายงาน  โดยเรียงตามลำดับอักษรไว้ท้ายเรื่อง
            จุดมุ่งหมายในการเขียนบรรณานุกรม
                1.  ทำให้รายงานนั้นเป็นรายงานที่มีเหตุผล  มีสาระน่าเชื่อถือ 
                2.  เป็นการเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่นจึงนำมาอ้างไว้
                3.  เป็นแนวทางสำคัญสำหรับผู้สนใจต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมโดยศึกษาได้จากบรรณานุกรมนั้นๆ
                4.  สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงที่นำมาอ้างได้

ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง            
หนังสือ
1. Mackenna BR, Callander R. Illustrated physiology. 6th ed. New York : Churchill Livingstone, 1997.
2. สุภาพร สุกสีเหลือง. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquaculture). กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมการเกษตร, 2538.
1. Weinstein L, Swartz MN. Pathogenic properties of invading microorganisms. In :Sodeman WA Jr, Sodeman WA, editors. Pathologic physiology : mechnisms of Disease.Philadelphia : Saunders, 1974: 457-72.
2. สุพิศ จึงพาณิชย์. Oral cavity & teeth. ใน : วิญญู มิตรานันท์บรรณาธิการ. พยาธิวิทยากายวิภาค. กรุงเทพ : โอเอสพรินติ้งเฮาส์, 2538: 659-78.
2. Ansvarsfall RY. Bloodtransfusion till fel patient. Vardfacket 1989; 13 : xxvi-xxvii.
3. รังสี อดุลยานุภาพมงคล เตชะกำพุชัยณรงค์ โลหชิต. การกระตุ้นรังไข่ในลูกโคด้วยฮอร์โมน เอฟ เอส เอช ซ้ำหลายครั้ง. เวชชสารสัตวแพทย์ 2541; 28: 59-69.



รูปแบบ :-         ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. เมืองที่พิมพ์: ผู้พิมพ์ปีที่พิมพ์.
1. Mackenna BR, Callander R. Illustrated physiology. 6th ed. New York : Churchill Livingstone, 1997.
บทหนึ่งในหนังสือ (Chapter in a book)
วารสารรูปแบบ :-         ชื่อผู้แต่ง. ชื่อบทความ. ชื่อย่อวารสาร ปีที่พิมพ์ ; ปีที่ของวารสาร (ฉบับที่) : หน้าที่ปรากฏบทความ.
1. Marks SL, Williams DA. Time course of gastrointestinal tract permeability to chromium 51-labeled ethylenediaminetetraacetate in healthy dogs. AJVR 1998; 59: 1113-5.


 
แหล่งบรรณานุกรม
1. http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/การเขียนบรรณานุกรม
2.
 http://www.unc.ac.th/lib/weblib/reference.html

3. http://www.thaigoodview.com/node/99177
สืบค้นเมื่อ 21  กันยายน  2556
 

การเขียนรายงานที่ถูกต้อง

วิธีการเขียนรายงาน

        รายงาน  คือ  การเขียนเล่าถึงสิ่งที่ได้พบเห็นหรือได้กระทำมาแล้ว   เช่น  การค้นคว้า ทางวิชาการ  การไปศึกษานอกสถานที่  การไปพักแรมค่ายเยาวชน  การประชุมกลุ่ม  การประสบเหตุการณ์ที่สำคัญ  เป็นต้น
        ลักษณะของรายงานคล้ายย่อความ คือเก็บเฉพาะข้อความสำคัญแต่อาจ เพิ่มเติมรายละเอียดบางอย่างได้ตามสมควร แบบการเขียนรายงานไม่มีข้อกำหนดตายตัว  เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย  อาจกำหนดตามแบบของแต่ละสถาบัน



ส่วนต่าง ๆ ของรายงาน  มี  3  ส่วน  ดังนี้

        1.  ส่วนหน้า  ประกอบด้วย  หน้าปก  ใบรองปกหน้า  (กระดาษเปล่า)  หน้าปกใน  หน้าคำนำ หน้าสารบัญ

        2.  ส่วนกลาง  ประกอบด้วย  เนื้อเรื่อง  เชิงอรรถ

        3.  ส่วนท้าย  ประกอบด้วย  บรรณานุกรม  ภาคผนวก  ใบรองปกหลัง (กระดาษเปล่า)  ปกหลัง

             1.1  การเขียนปก  ให้เขียนชื่อเรื่อง  และผู้เขียนรายงาน  กลางหน้ากระดาษ  ไม่ต้องใส่คำว่า  ชื่อเรื่อง  และผู้เขียนรายงาน 

             1.2  การเขียนหน้าปกในให้เขียนโดยแบ่งเป็น  3  ส่วน  ดังนี้

                    ส่วนบน  ให้เว้นระยะ  2  นิ้ว  จากขอบกระดาษบนถึงบรรทัดแรกของรายงาน และเขียน ชื่อเรื่องของรายงาน  ใส่เฉพาะชื่อเรื่องที่เขียนรายงาน  ไม่ต้องใส่คำว่า  ชื่อเรื่อง  

                    ส่วนกลาง  เว้นจากส่วนบนลงมาประมาณ  2  บรรทัดใส่คำว่าโดย  และชื่อผู้เขียนรายงาน ไม่ต้องใส่คำว่า  ผู้เขียนรายงาน
                    ส่วนล่าง  ให้เว้นระยะ  1  นิ้ว  จากขอบกระดาษล่างถึงบรรทัดสุดท้ายของส่วนล่าง บรรทัดแรกของส่วนล่างระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิชาใด ชั้นอะไร ภาคเรียนที่เท่าใด ปีการศึกษาใด ใครเป็นครูผู้สอน



 การเขียนส่วนต่าง ๆ ของรายงานแต่ละส่วน
 1.  การเขียนปกรายงานและการเขียนหน้าปกใน 
             1.1  การเขียนปก  ให้เขียนชื่อเรื่อง  และผู้เขียนรายงาน  กลางหน้ากระดาษ  ไม่ต้องใส่คำว่า  ชื่อเรื่อง  และผู้เขียนรายงาน 

             1.2  การเขียนหน้าปกในให้เขียนโดยแบ่งเป็น  3  ส่วน  ดังนี้

                    ส่วนบน  ให้เว้นระยะ  2  นิ้ว  จากขอบกระดาษบนถึงบรรทัดแรกของรายงาน และเขียน ชื่อเรื่องของรายงาน  ใส่เฉพาะชื่อเรื่องที่เขียนรายงาน  ไม่ต้องใส่คำว่า  ชื่อเรื่อง  
                   ส่วนกลาง  เว้นจากส่วนบนลงมาประมาณ  2  บรรทัดใส่คำว่าโดย  และชื่อผู้เขียนรายงาน ไม่ต้องใส่คำว่า  ผู้เขียนรายงาน
                    ส่วนล่าง  ให้เว้นระยะ  1  นิ้ว  จากขอบกระดาษล่างถึงบรรทัดสุดท้ายของส่วนล่าง บรรทัดแรกของส่วนล่างระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิชาใด ชั้นอะไร ภาคเรียนที่เท่าใด ปีการศึกษาใด ใครเป็นครูผู้สอน




 2.  การเขียนคำนำ
             การเขียน คำนำ” อยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านบน  2  นิ้ว ผู้เขียนรายงานจะระบุวัตถุประสงค์ ขอบเขตของเนื้อเรื่อง   หรือแนวการค้นคว้า   และคำขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือให้ การค้นคว้ารวบรวม และเรียบเรียงรายงานนั้นให้สำเร็จลงด้วยดี เมื่อหมดข้อความแล้วลงชื่อผู้เขียน วัน เดือน ปี  ที่เขียน  ถ้าเป็นรายงานกลุ่มเขียนคำว่า คณะผู้จัดทำ หน้าคำนำมักนิยมใส่เลขหน้าในวงเล็บไว้ด้านล่าง




การทำบรรณานุกรมท้ายเล่ม

        การลงบรรณานุกรม  หากมีเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศให้ลงภาษาไทยก่อน เรียงตามลำดับประเภท  และในแต่ละประเภทเรียงตามลำดับอักษรผู้แต่ง   หรือเรียงตามลำดับอักษรรวมกันไม่แยกประเภท




แหล่งข้อมูลอ้างอิง
           http://www.bangkapi.ac.th/MediaOnLine/weerawanWMD/unit6_part16.htm


วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

บทความ:เสวนาโครงการ "หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน"

             ด้วยในเดือนสิงหาคมนี้เป็นวาระครบ ๙๕ ปีแห่งวันอภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าราไพรรณี พระบรมราชินี อีกทั้งในเดือนสิงหาคมยังจัดเป็นเดือนวันสตรีไทยและแม่แห่งชาติอีกด้วย พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นควรจัดโครงการสัมมนาเรื่อง “หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน”
               เพศแม่เป็นสัญลักษณ์แห่งการให้กาเนิดและความอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในยุคคลาสสิกได้รับการยกย่องเป็นเทพีแห่งสงคราม เทพีแห่งการเยียวยา เทพีแห่งการล่าสัตว์ แม้แต่ในสังคมอินเดีย เทพีหลายองค์ทรงเป็นศักติ หรือ พลังของเทพเจ้าสาคัญจานวนไม่น้อยตามความเชื่อหลายลัทธิ
          ผู้หญิงได้รับการปฏิบัติแตกต่างกันออกไปทั้งในโลกตะวันตกและโลกตะวันออก ตามความเชื่อทางศาสนาและค่านิยมในสังคม แต่หลังจากผ่านร้อนผ่านหนาวมาจนถึงวัยอาวุโสสูงสุด สตรีเพศทั้งในสังคมจีนและอินเดีย อาจมีสถานภาพเป็นผู้ชี้ทางอนาคตของครอบครัวบนสถานภาพของการเป็น “ผู้รู้และผู้สืบทอดภูมิปัญญา” ทั้งในเรื่องความเป็นอยู่และพิธีกรรมของครอบครัว โดยมีศาสนาและความเชื่อเป็นสายธารเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม


              ในสังคมไทย เมื่อประมาณ ๒๐๐ ปีเศษที่ผ่านมา พฤติกรรมของผู้หญิงตัวเล็กๆ หลายคน อาจส่งผลกระทบไปถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของกระบวนการยุติธรรมโดยรวมอย่างคาดไม่ถึง อาทิ ในกรณีของอาแดงป้อมผู้เป็นสาเหตุให้ร้อนถึงพระเนตรพระกรรณพระบาทสมเด็จพระพุทธ


            ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงกับต้องชาระพระราชบัญญัติ อันเป็นต้นเค้าของกฎหมายตราสามดวงในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ฎีกาที่ “ขัดฝืน” ผู้หญิงที่น่าสงสารอย่าง “อาแดงเหมือน” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงกับส่งผลให้ประเพณีการคลุมถุงชนในสังคมไทยเสื่อมคลายภายใต้พระราชวินิจฉัยที่ว่า “การแต่งงานของชายหญิงต้องเกิดจากความสมัครใจ” อีกทั้งยังส่งผลให้มีการประกาศพระราชบัญญัติลักพาพ.ศ.2408 และพระราชบัญญัติผัวขายเมียพ.ศ. ๒๔๑๐ อันเป็นการปูพื้นฐานของเรื่องสิทธิมนุษยชนและการเลิกทาสในรัชสมัยต่อมา ทาให้คากล่าวที่ว่า “ผู้หญิงเป็นควาย ผู้ชายเป็นคน” ในอดีตเลือนหายไปจากความทรงจาของผู้คนในสังคม
          ในยุคปลายสังคมจารีตสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่างของการยกย่องสถานภาพของสตรี ตามค่านิยมของ “สังคมผัวเดียวเมียเดียว” แบบตะวันตก โดยทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินีแต่เพียงพระองค์เดียว พระราชจริยาวัตรนี้ส่งผลระดับหนึ่งต่อสถาบันครอบครัวในเวลาต่อมา
          แต่เป็นน่าแปลกใจที่สังคมไทยแม้จะให้ความสาคัญต่อคาสาบาน ดังพันธะที่มีต่อพระราชพิธีศรีสัจปานกาลมาแต่ครั้งอดีต กลับไม่เคยแยแสต่อการสาบานว่าจะซื่อสัตย์ต่อคู่สมรสจนกว่าจะตายจากกัน
ร่องรอยการให้ “เครดิต” แก่ผู้หญิงครั้งสาคัญที่สุดในยุคเปลี่ยนผ่านสู่สังคมประชาธิปไตยเมื่อพ.ศ.๒๔๗๕ ปรากฏในธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวฉบับแรก กาหนดให้ผู้หญิงไทยได้รับสิทธิทางการเมืองเท่าเทียมกับผู้ชาย ขณะที่สตรีหลายชาติทั้งในโลกตะวันตกที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจแล้ว กลับยังไม่ได้สิทธิดังกล่าว
         ในขณะที่สังคมโลกตระหนักถึงสิทธิสตรี ทั้งรัฐไทยและสังคมไทยโดยรวม ทัศนะที่มีต่อผู้หญิงมีพัฒนาการอย่างไรบ้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๗ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง นิติบัญญัติ และวัฒนธรรมส่งผลกระทบต่อบทบาทของผู้หญิงอย่างไร ปัจจัยเกื้อหนุนและบั่นทอนย้อนกลับต่อบทบาทของผู้หญิงอันเนื่องมาจากกฎหมายบางอย่างมีอะไรบ้าง ขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงเกิดจากตัวแปรอะไรบ้าง ล้วนเป็นคาถามที่สังคมต้องร่วมกันแสวงหาคาตอบหรือร่วมกันแก้ไขอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้



         การอ้างความรักความหึงหวงแล้วแปรเปลี่ยนมาเป็นการทาร้ายคนเพศแม่อย่างโหดร้าย การลดความสาคัญของสตรีหลังการแต่งงาน ทาให้ผู้หญิงขาดโอกาสทางเศรษฐกิจ ถึงกระนั้นก็ตาม สิทธิทางการเมืองและการศึกษาก็ทาให้สตรีจานวนไม่น้อยประสบความสาเร็จในวิชาชีพของตน

อ้างอิง
www.kpi.ac.th/.../1-%20โครงการสัมมนาวิชาการพระปกเกล้าศึกษา.pdf

บทความนามานุกรม : Long March ค.ศ. 1934-1935



ค.ศ.1934-1935 พรรคคอมมิวนิสต์จีนย้ายฐานที่มั่นจากทางใต้สู่ทางเหนือของจีนโดยการเดินทัพทางไกล หรือที่เรียกว่า Long  March


                ลองมาร์ช หรือ การเดินทัพทางไกล (Long March; จีนตัวเต็ม: 長征; จีนตัวย่อ: 长征; พินอิน: Chángzhēng) หมายถึงการถอยทัพครั้งใหญ่หลายครั้ง ของกองทัพแดงแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน


                ระหว่างปี ค.ศ. 1934 ถึง 1936 โดยการนำของเหมา เจ๋อตุง และโจว เอินไหล ที่กำลังต่อสู้กับกองทัพรัฐบาลจีนในขณะนั้น ซึ่งนำโดยเจียง ไคเช็ก
            ในขณะนั้นกองทัพของพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีขนาดเล็กกว่า และกำลังเพลี่ยงพล้ำต่อกองทัพรัฐบาล จึงนำกำลังทหาร พร้อมด้วยประชาชนจำนวนหนึ่งเดินเท้าถอยร่นจากทางใต้ หนีขึ้นไปทางเหนือของประเทศจีน
            การเดินทัพครั้งสำคัญเกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1934 โดยเริ่มต้นจากมณฑลเจียงซีไปทางทิศตะวันตก และย้อนขึ้นไปทางทิศเหนือ เป็นระยะทางประมาณ 25,000ลี้หรือ 12,500 กิโลเมตร (8,000 ไมล์)
            ผ่านดินแดนทุรกันดารทางตะวันตกของประเทศจีน ใช้ระยะเวลากว่า 370 วัน ไปยังมณฑลส่านซี โดยมีผู้รอดชีวิตไปถึงจุดหมายเพียงหนึ่งในห้า  การนำทัพโดยเหมา เจ๋อตุง ในครั้งนั้น ทำให้เขาได้รับการสนับสนุนจากผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนคนอื่นๆ ให้ขึ้นสู่อำนาจในเวลาต่อมา และหลังจากสะสมกำลังพลและอาวุธที่มณฑลส่านซีอยู่หลายปี จนถึง ค.ศ. 1945 กองทัพแดงได้ยกทัพมาต่อสู้กับรัฐบาลเจียง ไคเช็ก และขับไล่เจียง ไคเช็กไปยังไต้หวัน และสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1949
            จากนั้นพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็เริ่มประวัติศาสตร์ 1 ปีช่วงที่ตื่นเต้นมาก นั่นคือการเดินทัพระยะไกล (Long March) เพื่อหนีการไล่ตามของเจียงไคเช็ค มีทั้งข้ามแม่น้ำ ปีนสะพาน ข้ามเหว เดินทัพกลางคืน ฯลฯ อ่านแล้วยังกับเกมแต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง



            พรรคคอมมิวนิสต์เดินทางไปยังทิศตะวันตก ซึ่งเป็นเขตบ้านนอกที่พรรคก๊กมินตั๋งยังไม่มีอิทธิพลแผ่ไปถึง กองกำลังของ พคจ.แบ่งเป็น 3 สาย โดยสายหลักของเหมาเจ๋อตงและโจวเอินไหลคือกองทัพที่ 1 (นอกจากนี้ยังมีกองทัพที่ 2 และ 4 แยกกันเดินทางไปคนละเส้น)


             Logn March ใช้เวลา 1 ปีเต็ม เดินด้วยเท้าไปครึ่งประเทศจีน ตอนแรกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ เข้าไปยังยูนนาน แล้วตอนหลังเดินทางขึ้นเหนือไปภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ไปตั้งมั่นอยู่ที่มณฑลส่านซี (Shanxi) ซึ่งอยู่ห่างไกลอิทธิพลของก๊กมินตั๋งมากที่สุด
            การเดินทัพทางไกลครั้งนี้ทารุณมาก เพราะภูมิประเทศทางภาคตะวันตกของจีนมีแต่ภูเขา นอกจากนี้ก็โดนทัพของเจียงไคเช็คล้อมปราบ ทิ้งระเบิด ฯลฯ อยู่เรื่อยๆ แถมเจอปัญหาโรคภัย อาหารขาดแคลน สภาพอากาศ ฯลฯ 
             สรุปว่าตอนเริ่มต้นเดินมีเกือบแสน ตอนถึงที่หมายมีเกือบหมื่นเท่านั้น แต่บรรดาผู้นำของ พรรคคอมมิวนิสต์ ก็รอดไปถึงที่หมายกันได้เกือบหมด 
                 การเดินทัพรอบนี้ถึงจะโหดร้ายทารุณ แต่ก็มีประโยชน์ในเชิงประชาสัมพันธ์แนวคิดของ พคจ.โดยฝ่ายนำกำหนดว่าห้ามปล้นชิงราษฎร ต้องการของให้ซื้อ ถ้าเจอเจ้าที่ดินกดขี่ให้ปล้นแล้วเอาของมาแจกราษฎร ชาวนายากจนในพื้นที่ ทำให้มีคนเข้าร่วมบวกกับความเห็นใจพรรคคอมมิวนิสต์อีกมาก


 ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี