วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

บทความ:เสวนาโครงการ "หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน"

             ด้วยในเดือนสิงหาคมนี้เป็นวาระครบ ๙๕ ปีแห่งวันอภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าราไพรรณี พระบรมราชินี อีกทั้งในเดือนสิงหาคมยังจัดเป็นเดือนวันสตรีไทยและแม่แห่งชาติอีกด้วย พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นควรจัดโครงการสัมมนาเรื่อง “หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน”
               เพศแม่เป็นสัญลักษณ์แห่งการให้กาเนิดและความอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในยุคคลาสสิกได้รับการยกย่องเป็นเทพีแห่งสงคราม เทพีแห่งการเยียวยา เทพีแห่งการล่าสัตว์ แม้แต่ในสังคมอินเดีย เทพีหลายองค์ทรงเป็นศักติ หรือ พลังของเทพเจ้าสาคัญจานวนไม่น้อยตามความเชื่อหลายลัทธิ
          ผู้หญิงได้รับการปฏิบัติแตกต่างกันออกไปทั้งในโลกตะวันตกและโลกตะวันออก ตามความเชื่อทางศาสนาและค่านิยมในสังคม แต่หลังจากผ่านร้อนผ่านหนาวมาจนถึงวัยอาวุโสสูงสุด สตรีเพศทั้งในสังคมจีนและอินเดีย อาจมีสถานภาพเป็นผู้ชี้ทางอนาคตของครอบครัวบนสถานภาพของการเป็น “ผู้รู้และผู้สืบทอดภูมิปัญญา” ทั้งในเรื่องความเป็นอยู่และพิธีกรรมของครอบครัว โดยมีศาสนาและความเชื่อเป็นสายธารเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม


              ในสังคมไทย เมื่อประมาณ ๒๐๐ ปีเศษที่ผ่านมา พฤติกรรมของผู้หญิงตัวเล็กๆ หลายคน อาจส่งผลกระทบไปถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของกระบวนการยุติธรรมโดยรวมอย่างคาดไม่ถึง อาทิ ในกรณีของอาแดงป้อมผู้เป็นสาเหตุให้ร้อนถึงพระเนตรพระกรรณพระบาทสมเด็จพระพุทธ


            ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงกับต้องชาระพระราชบัญญัติ อันเป็นต้นเค้าของกฎหมายตราสามดวงในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ฎีกาที่ “ขัดฝืน” ผู้หญิงที่น่าสงสารอย่าง “อาแดงเหมือน” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงกับส่งผลให้ประเพณีการคลุมถุงชนในสังคมไทยเสื่อมคลายภายใต้พระราชวินิจฉัยที่ว่า “การแต่งงานของชายหญิงต้องเกิดจากความสมัครใจ” อีกทั้งยังส่งผลให้มีการประกาศพระราชบัญญัติลักพาพ.ศ.2408 และพระราชบัญญัติผัวขายเมียพ.ศ. ๒๔๑๐ อันเป็นการปูพื้นฐานของเรื่องสิทธิมนุษยชนและการเลิกทาสในรัชสมัยต่อมา ทาให้คากล่าวที่ว่า “ผู้หญิงเป็นควาย ผู้ชายเป็นคน” ในอดีตเลือนหายไปจากความทรงจาของผู้คนในสังคม
          ในยุคปลายสังคมจารีตสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่างของการยกย่องสถานภาพของสตรี ตามค่านิยมของ “สังคมผัวเดียวเมียเดียว” แบบตะวันตก โดยทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินีแต่เพียงพระองค์เดียว พระราชจริยาวัตรนี้ส่งผลระดับหนึ่งต่อสถาบันครอบครัวในเวลาต่อมา
          แต่เป็นน่าแปลกใจที่สังคมไทยแม้จะให้ความสาคัญต่อคาสาบาน ดังพันธะที่มีต่อพระราชพิธีศรีสัจปานกาลมาแต่ครั้งอดีต กลับไม่เคยแยแสต่อการสาบานว่าจะซื่อสัตย์ต่อคู่สมรสจนกว่าจะตายจากกัน
ร่องรอยการให้ “เครดิต” แก่ผู้หญิงครั้งสาคัญที่สุดในยุคเปลี่ยนผ่านสู่สังคมประชาธิปไตยเมื่อพ.ศ.๒๔๗๕ ปรากฏในธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวฉบับแรก กาหนดให้ผู้หญิงไทยได้รับสิทธิทางการเมืองเท่าเทียมกับผู้ชาย ขณะที่สตรีหลายชาติทั้งในโลกตะวันตกที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจแล้ว กลับยังไม่ได้สิทธิดังกล่าว
         ในขณะที่สังคมโลกตระหนักถึงสิทธิสตรี ทั้งรัฐไทยและสังคมไทยโดยรวม ทัศนะที่มีต่อผู้หญิงมีพัฒนาการอย่างไรบ้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๗ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง นิติบัญญัติ และวัฒนธรรมส่งผลกระทบต่อบทบาทของผู้หญิงอย่างไร ปัจจัยเกื้อหนุนและบั่นทอนย้อนกลับต่อบทบาทของผู้หญิงอันเนื่องมาจากกฎหมายบางอย่างมีอะไรบ้าง ขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงเกิดจากตัวแปรอะไรบ้าง ล้วนเป็นคาถามที่สังคมต้องร่วมกันแสวงหาคาตอบหรือร่วมกันแก้ไขอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้



         การอ้างความรักความหึงหวงแล้วแปรเปลี่ยนมาเป็นการทาร้ายคนเพศแม่อย่างโหดร้าย การลดความสาคัญของสตรีหลังการแต่งงาน ทาให้ผู้หญิงขาดโอกาสทางเศรษฐกิจ ถึงกระนั้นก็ตาม สิทธิทางการเมืองและการศึกษาก็ทาให้สตรีจานวนไม่น้อยประสบความสาเร็จในวิชาชีพของตน

อ้างอิง
www.kpi.ac.th/.../1-%20โครงการสัมมนาวิชาการพระปกเกล้าศึกษา.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น